เมนู

นิพพาน. ธาตุทั้งสองแม้เหล่านี้ ก็พึงทำให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ 18 อย่างข้าง
ต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทำให้เต็มจำนวนควรทำให้เต็มโดยนำออกไปจากสังขต-
ธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ 10 อย่างครึ่งโนบรรดาธาตุ 18 อย่างเหล่านั้น
จึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุดเป็น
การย้ำท้าย สำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแล.

อายตนะภายใน - ภายนอก



บทว่า อชฺฌตฺติกพาหิรานิ ได้แก่ ทั้งภายในและภายนอก. ก็ใน
คำนี้ จักษุเป็นต้น จัดเป็นอายตนะภายใน และรูปเป็นต้น จัดเป็นอายตนะ
ภายนอก. แม้ในที่นี้ก็ตรัสมรรคกับวิปัสสนาด้วยบทว่า ชานาติ ปสฺสติ
(ย่อมรู้ ย่อมเห็น) ดังนี้.
บทว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ ดังนี้เป็นต้น ได้กล่าวไว้อย่างพิสดาร
แล้วในมหาตัณหาสังขยสูตร.

ฐานะ - โอกาส



บทว่า อฏฺฐานํ ได้แก่ ปฏิเสธเหตุ.
บทว่า อนวกาโส ได้แก่ ปฏิเสธปัจจัย.
แม้บททั้งสองก็ห้ามเหตุด้วยกันนั่นแหละ. อันที่จริงเหตุท่านเรียกว่า
ฐานะ. และโอกาส เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผลของตน เพราะผลเป็นไปเนื่องกับ
เหตุนั้น.
บทว่า ยํ แปลว่า เหตุใด.
บทว่า ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ได้แก่ พระโสดาบันอริยสาวกผู้สมบูรณ์
ด้วยมรรคทิฏฐิ.
บทว่า กิญฺจิ สงฺขารํ ได้แก่ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สังขาร
อย่างหนึ่งในบรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ 4.

บทว่า นิจฺจโต อุปคจฺเฉยฺย คือ พึงยึดถือว่าเที่ยง.
บทว่า เนตํ ฐานํ วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนั้นไม่มี คือ จัดเข้าไม่ได้.
บทว่า ยํ ปุถุชฺชโน ได้แก่ เพราะเหตุใด ปุถุชน.
บทว่า ฐานเมตํ วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนั้นมีอยู่. อธิบายว่า แท้
จริงบุคคลนั้นพึงยึดสังขารอะไร ๆ ในบรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ 3 โดย
ความเป็นของเที่ยง ด้วยสัสสตทิฏฐิ.
แม้ในบทว่า กิญฺจิ สงฺขารํ สุขโต เป็นต้น ก็พึงทราบความ
หมายโดยนัยนี้ว่า ก็สังขารทั้งหลาย้อนเป็นไปในภูมิที่ 4 (โลกุตรภูมิ) ย่อม
ไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิ หรือของอกุศลทั้งหลายอื่น เหมือนก้อนเหล็กที่ร้อน
ระอุด้วยอำนาจความร้อนที่ร้อนระอุขึ้นเป็นต้น ย่อมไม่เป็นที่ติดใจของพวก
แมลงวันฉะนั้น.
บทว่า สุขโต อุปคจฺเฉยฺย นี้ ตรัสหมายเอาความยึดถือว่าเป็น
สุขด้วยอำนาจอัตตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตน) อย่างนี้ว่า อัตตาเป็นสภาวะ
ที่มีสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีโรค เบื้องหน้าแต่ตายไป ดังนี้เป็นต้น. ก็พระ
อริยสาวกเข้าไปยึดถือสังขารอย่างหนึ่งว่าเป็นสุข ด้วยจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต
เปรียบเหมือนช้างตัวตกมันถูกความเร่าร้อนครอบงำ มีความเย็นเหลืออยู่น้อย
เพื่อระงับความเร่าร้อนจึงวิ่งเข้าอาศัยกองคูถและเปรียบเหมือนโปกขรพราหมณ์
วิ่งเข้าอาศัยกองคูถฉะนั้น. ในวาระที่ว่าด้วยเรื่องตน1 ไม่ตรัสว่า สังขาร
ตรัสว่า ธรรมไร ๆ ดังนี้ เพื่อจะรวมเอาบัญญัติมีกสิณเป็นต้นเข้าไว้ด้วย. แม้
ในที่นี้ (คือพระสูตรนี้ ) พึงทราบความหมายที่เนื่องด้วยสังขารอันเป็นไปใน
ภูมิ 4 สำหรับพระอริยสาวก. ที่เนื่องด้วยสังขาร อันเป็นไปในภูมิ 3 เท่านั้น
สำหรับปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง ในวาระทั้งปวง การกำหนดด้วยอำนาจสังขาร
1. ฉบับพม่าเป็น อตฺตวาเร แปลตามฉบับพม่า.

ที่เป็นไปในภูมิ 3 เท่านั้น ย่อมควรแม้แก่พระอริยสาวกะ จริงอยู่ ปุถุชน
ย่อมยึดถือสิ่งใด ๆ พระอริยสาวกย่อมคลายความยึดถือจากสิ่งนั้น ๆ. ก็แม้
ปุถุชนย่อมยึดถือสิ่งใด ๆ ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา พระอริยสาวกถือเอา
สิ่งนั้น ๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมกลับความยึดถืออันนั้น.

พระอริยะอาจไม่รู้ว่าเป็นอริยะในชาติต่อไป



ในคำว่า มาตรํ เป็นต้น มีอธิบายว่า หญิงผู้ให้กำเนิดนั้นแล
ท่านประสงค์เอาว่า มารดา ชายผู้ให้กำเนิด ท่านประสงค์เอาว่าบิดา. และ
พระขีณาสพที่เป็นมนุษย์ ท่านประสงค์เอาว่า พระอรหันต์.
ถามว่า. ก็พระอริยสาวก พึงปลงชีวิตคนอื่นหรือ ?
ตอบว่า แม้ข้อนั้นก็ไม่ใช่ฐานะ (ที่มีได้)
ก็ถ้าใคร ๆ จะพึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่ในระหว่างภพ (ผู้ยัง
เวียนว่ายตายเกิด) ทั้งที่ไม่รู้ว่าตนเป็นพระอริยสาวก แม้อย่างนี้ว่า ก็ท่านจง
ปลงชีวิตมดดำ มดแดงนี้แล้ว ครอบครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน
ห้องจักรวาลทั้งหมด ดังนี้ท่านจะไม่ปลงชีวิตมดดำ มดแดงนั้นเลย. แม้ถ้า
จะกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าสัตว์นี้ ฉันจักตัดศีรษะท่าน. แต่
ท่านจะไม่ฆ่าสัตว์นั้น. คำนี้ท่านพูดเพื่อแสดงว่า ภาวะของปุถุชนมีโทษมาก
และเพื่อแสดงกำลังของพระอริยสาวก.
ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ความเป็นปุถุชนมีโทษมาก ตรงที่จักกระ-
ทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นได้ ส่วนพระอริยสาวกมีกำลังมาก
ตรงที่ไม่กระทำกรรมเหล่านี้ .
บทว่า ทุฏฺฐจิตฺโต แปลว่า มีจิตประทุษร้าย ด้วยจิตคิดจะฆ่า.
บทว่า โลหิตํ อุปฺปาเทยฺย ความว่า พึงทำพระวรกายที่มีชีวิตให้
ห้อพระโลหิต แม้มาตรว่า แมลงวันตัวเล็ก ๆ พอดื่มได้.